สาระความรู้

ไม่อ้วน..เอา (เท่าไหร่)

ไม่อ้วน..เอา 'เท่าไหร่'

"ช่วงนี้ อ้วนขึ้นหรือเปล่า?"

ประโยคยอดนิยมอันนี้ดูเหมือนจะเป็นการทักทายที่เป็นกันเองเวลาเราไปเจอเพื่อนๆหรือคนรู้จัก คนพูดอาจจะไม่ได้จริงจังกับคำถามมากนัก แต่สำหรับคนฟังแล้ว มันเป็นเรื่องที่ยากจะปล่อยให้ผ่านไป และคำถามผุดขึ้นมา คือ นี่เราอ้วนขึ้นมากขนาดนั้นเลยเหรอ?

ปัจจุบัน โรคอ้วน เป็นโรคที่คืบคลานเข้ามาอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่เราคิด โรคอ้วนคือต้นตอของโรคต่างๆที่ทำให้ร่างกายของเราความเสื่อมก่อนวัย เช่น โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) โรคหัวใจ (Cardiovascular diseases) โรคไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia) และ โรคมะเร็ง (Cancer)

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเราเป็นโรคอ้วน?

ล่าสุด ทางสมาคมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการลดน้ำหนักแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ( American Society of Bariatric Medicine, ASBP) ได้ตีพิมพ์ Guideline สำหรับแพทย์เพื่อเป็นแนวทาง ในการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวเกิน ( Overweight and obese patients) 

ก่อนเริ่มต้นการรักษา ทางสมาคมได้แนะนำให้แพทย์แบ่งผู้ป่วยตามระดับความรุนแรงของปัญหา โดยใช้ตัวชี้วัด หลัก(Indicators) 3 ตัว

• Body Mass Index ( BMI) 
• Waist Circumference ( cm) 
• Body fat percentage ( %)

1. Body Mass Index (BMI)

BMI หรือ ดัชนีมวลกาย เป็นค่าดัชนีที่คุณสามารถคำนวณด้วยตัวเองได้ จาก น้ำหนัก และ ส่วนสูง เพื่อใช้เปรียบเทียบ ความสมดุลระหว่างน้ำหนักตัวและส่วนสูง
Body Mass Index ( BMI) = Weight (kilogram)/Height2(meter)

Normal =18.5-24.9

Overweight = 25-29.9

Class I Obesity = 30-34.9

Class II Obesity= 35-39.9

Class III Obesity ≥40

คนส่วนมากจะคุ้นเคยกับBMIเพราะเป็นการวัดที่ทำได้ง่าย แค่มีเครื่องคิดเลขตัวเดียวก็สามารถคำนวณดัชนีได้ อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของBMI คือผลที่ได้ไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงความหนาแน่นของมวลกล้ามเนื้อ (Lean muscle mass)ในร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น นักกีฬายกน้ำหนักคนหนึ่ง อาจจะมีน้ำหนัก ประมาณ 100 kilogram ส่วนสูง 1.70 meter ผลBMIได้ 35 ถือว่าอยู่ในกลุ่ม Class II Obesity ซึ่งไม่สมเหตุสมผลเนื่องจาก ความหนักของนักกีฬาคนนี้มาจากมวลกล้ามเนื่อเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ความน่าเชื่อถือของตัวชี้วัดนี้ลดน้อยลง 

2. Waist Circumference (cm)

การวัดรอบเอว หรือ Waist circumference เป็นอีกหนึ่งวิธีถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายหลายปีที่ผ่านมาในการวินิจฉัยโรคอ้วน เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายและประหยัด เกณท์ที่ใช้มีดังต่อไปนี้

ผู้ชาย -> Asians ≥ 90 cm (35 in ) 

ผู้หญิง-> Asians ≥ 80 cm (31.5 in)

แต่เนื่องจากผู้วัดไม่สามารถวัดให้ได้ผลใกล้เคียงกันทุกครั้ง (Low reproducibility) ทำให้ความน่าเชื่อถือในตัวชี้วัดนี้น้อยลง และไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก

3. Body fat percentage (%)

ณ ปัจจุบัน การวัดองค์ประกอบต่างๆของร่างกายหรือ Body Composition Analysis ผ่านเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อว่า Dual Energy X-Ray Absorptiometry หรือ DEXA Scan ถูกจัดให้เป็น มาตรฐานใหม่(Gold Standard) ในการวินิจฉัยโรคอ้วน DEXA Scan สามารถแยกองค์ประกอบของร่างกายออกเป็น 3 ส่วน คือ กระดูก กล้ามเนื้อ และไขมัน นอกจากจะช่วยวัดความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density or BMD)เพื่อวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน (Osteoporesis) แล้ว เครื่องDexaยังสามารถ ยังสามารถวิเคราะห์การกระจายของไขมัน (Fat distribution) ว่าอยู่บริเวณใดบ้าง ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ซึ่งเป็นการตรวจหามวลไขมันในร่างกายเชิงลึกและแม่นยำที่สุด (High accuracy) 

เกณฑ์การวินิจฉัยโรคอ้วน 

ผู้ชาย-> Body fat ≥ 25% 

ผู้หญิง-> Body fat ≥ 32% 

ถ้าคุณเบื่อที่จะได้ยินคำถามซ้ำๆเกี่ยวกับเรื่องน้ำหนักตัวของคุณ ลองหาเวลามาตรวจร่างกายด้วยวิธีนี้ดูซิค่ะ

Reference:
1.ASBP Obesity Algorithm: Adult Adiposity Evaluation and Treatment 2013. Published by American Society of Bariatric Physicians (ASBP)
2.J. Andrew Doyle, PhD. Body Composition Analysis. The Department of Kinesiology and Health at Georgia State University,2008.

CR. ศูนย์การแพทย์และวิจัยสุขภาพ Royal Life